วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2556

วัตถุประสงค์


วัตถุประสงค์
      1.ให้ผู้อื่นรู้จักการออกกำลังกายแบบแอโรบิกดานซ์เพิ่มมากขึ้น             
      2.เพื่อให้คนหันมาสนใจการออกกำลังกายเพิ่มมากขึ้น            
      3.เพื่อให้คนได้เห็นถึงความสำคัญของการออกกำลังกาย
เหตุผลที่ทำ
            เนื่องจากปัจจุบันมนุษย์ออกกำลังกายน้อยลง เพราะมีเวลาไม่มากนักที่จะไปออกกำลังกายนอกบ้านการออกกำลังกายโดยแอโรบิกซ์ดานซ์จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ค่อยมีเวลาเพราะเราสามารถออกกำลังกายแอโรบิกดานซ์ได้ที่บ้านเพื่อช่วยลดเวลาในการเดินทางไปออกกำลังกายนอกบ้าน และที่ดิฉันได้เลือกทำเรื่อง แอโรบิกดานซ์เพราะแอโรบิกดานซ์ถือเป็นการออกกำลังกายอย่างหนึ่ง ที่ดิฉันชอบออก  ดิฉันจึงอยากจะถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้รู้จัก การออกกำลังกายที่มีชื่อว่า แอโรบิกดานซ์ ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น

ชื่อหนังสือ แอโรบิกดานซ์

รหัส ISBN 974-468-435-6

ประวัติความเป็นมา



ประวัติความเป็นมา
      ในปี ค.ศ.1968 นายแพทย์คูเปอร์ ได้คิดค้นวิธีการออกกำลังกายแบบแอโรบิกดานซ์ โดยได้เขียนหนังสือเรื่องความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายที่ต้องอาศัยอากาศ (Aerobics Exercise) ทำให้บุคคลทั่วไปสนใจและนำไปฝึกปฎิบัติอย่างแพร่หลาย
      ในปี ค.ศ.1969 จูดี้ เชฟฟาร์ด มิสเซตต์ได้นำการออกกำลังกายแบบแอโรบิกมาประยุกต์โดยทำการเต้นเเจส มาผสมผสานกับการออกกำลังกายแบบแอโรบิก เอกเซอร์ไซด์ใส่จังหวะการเต้นรำของจังหวะเเจสเข้าไปทำให้เป็นที่ชื่นชอบของผู้คนชาวอเมริกันกันอย่างแพร่หลาย
      ต่อมาในปี ค.ศ.1979  แจ๊คกี้ โซเรนสัน ได้พัฒนาการออกกำลังกายแบบแอโรบิกเอกเซอร์ไซด์มาประยุกต์ให้เข้ากับจังหวะดนตรีที่สนุกสนาน เร้าใจ รวมทั้งมีการเคลื่อนไหว ซึ่งนำหลักการของวิทยาศาสตร์การกีฬาเข้าประกอบการออกกำลังกายจึงเป็นที่นิยมและรู้จักกันโดยทั่วไปในชื่อว่า แอโรบิกดานซ์ (Aerobics Dance)
      ในปี ค.ศ.1984 มีการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 23 ที่รัฐลอสแอนเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา ในพิธีเปิดการแข่งขันได้ทำการเต้นแอโรบิกดานซ์มาแสดงในพิธีเปิด ทำให้เป็นที่รู้จัก แพร่หลายไปทั่วโลก
      สำหรับการเต้นแอโรบิกดานซ์ในประเทศไทยได้มีการทำการออกกำลังกายแบบแอโรบิกดานซ์เฉพาะในสถานบริหารกายของเอกชนในห้องอออกกำลังกายของโรงแรมเท่านั้น ผู้ที่สนใจจะเต้นแอโรบิกจะต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงมากต่อมาในปี พ.ศ.2519 อาจารย์ สุกัญญา มุสิกวัน ได้ทำกิจกรรมเข้าจังหวะ การบริหารประกอบดนตรี และยิมนาสติกมาประยุกต์เข้าด้วยกัน ใช้ชื่อว่า Slimnastic ซึ่งมาจากคำว่า Slim+Gymnastic  ต่อมาในปี พ.ศ.2523 อาจารย์สุกัญญา พาณิชเจริญนาม ทำการเปิดสอนวิชาแอโรบิกดานซ์ให้กับครูทุกสถาบันทั่วประเทศ ณ โรงยิม มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ พลศึกษาในสนามกีฬาแห่งชาติ จากนั้นมาการจัดการสอนวิชาแอโรบิกดานซ์จึงได้แพร่หลายตามสถานศึกษาทุกระดับ ทั้งในระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา ต่อมาในปีพ.ศ.2546 กระทรวงสาธารณะสุข ได้มีนโยบายให้ประชาชนได้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงจึงให้มีการออกกำลังกายกันทุกหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ทั่วประเทส จึงได้รับความนิยมแพร่หลายกันทั่วประเทศ
หลักการออกกำลังกายแบบแอโรบิกดานซ์ 
      เป็นการออกกำลังกายที่ได้รับความนิยมกันอย่างกว้างขวางทุกเพศ ทุกวัย ที่เป็นเช่นนี้เพราะเป็นการออกกำลังกายที่สนุกสนาน สามารถออกกำลังกายได้ทุกสถานที่ ทำได้ไม่ยากนัก ขอให้มีเพียงเสียงหรือจังหวะประกอบการออกกำลังกายก็พอแล้ว  ผู้ที่ทำให้การออกกำลังกายแอโรบิกดานซ์เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายของคนทั้งในยุโรป และเอเชียก็คือ แจ๊คกี้ โซเรนสัน เป็นชาว อเมริกัน ที่ทำให้รูปแบบการออกกำลังกายเป็นที่น่าสนใจ และสนุกสนาน โดยนำท่าออกกำลังกายและท่าเต้นรำมาเต้นให้เข้ากับจังหวะดนตรี
      แอโรบิกดานซ์ คือ การนำเอาท่าบริหารแบบต่างๆมาบวกกับการเคลื่อนไหวพื้นฐาน บวกกับทักษะการเต้นรำ และนำมาผสมผสานกันอย่างกลมกลืนแล้วนำมาประกอบจังหวะหรือเสียงดนตรี เพื่อนำมาเป็นกิจกรรมการออกกำลังกาย
      จุดเด่นของการออกกำลังกายแบบแอโรบิกดานซ์ คือ มุ่งฝึกระบบการหายใจความสามารถในการจับออกซิเจนสูงสุด ซึ่งเป็นผลดีในการสร้างความอดทนให้แก่ร่างกายอีกด้วย ประโยชน์ที่ได้รับอีกอย่างหนึ่ง คือ ทำให้รูปร่างและทรวดทรงดีขึ้น ส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมได้รับความสนุกสนาน ร่าเริง หายจากความตึงเครียด



วัตถุประสงค์ของการออกกำลังกายแบบแอโรบิกดานซ์
      จุดมุ่งหมายสำคัญของการออกกำลังกายแบบแอโรบิกดานซ์อยู่ที่เน้นการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย ให้มีการเต้นอัตราการเต้นของชีพจรให้ถึงเป้าหมาย คือ 70-80 % ของอัตราการเต้นชีพจรสูงสุด และต้องเต้นติดต่อกันประมาณ 25-30นาที จึงจะช่วยพัฒนาสมรรถภาพทางร่างกายให้ดีขึ้น (สมรรถภาพทางร่างกาย หมายถึง ความสามารถในการประกอบกิจการทางกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งประกอบไปด้วยความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความทนทานของกล้ามเนื้อ และระบบไหลเวียนโลหิต ปอด หัวใจ ความเร็วในการทำงานของกล้ามเนื้อ ความอ่อนตัว ความคล่องตัว) ควรจะเต้นให้หนักพอ และติดต่อกันประมาณ 25-30 นาที ควรจะเต้นประมาณสัปดาห์ละ วัน
ประโยชน์ของการออกกำลังกายแบบแอโรบิกดานซ์
1.ประโยชน์ทางสรีรวิทยา
   1.1 เพิ่มประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของระบบไหลเวียน
   1.2 เพิ่มความแข็งแรง
   1.3 เพิ่มความทนทาน
   1.4 เพิ่มความอ่อนตัว
   1.5 ฝึกหัดการประสานงานของกล้ามเนื้อและประสาท
   1.6 ปรับปรุงบุคลิกภาพ
2.ประโยชน์ทางจิตวิทยา
   2.1 ลดความเครียดทางจิตวิทยา ผ่อนคลายความเครียดและมีสมาธิ
   2.2 ช่วยให้มีความรับรู้เกี่ยวกับตนเองด้านความเชื่อมั่นและกล้าแสดงออกมากขึ้น
   2.3 มีความสนุกสนานและมีแรงจูงใจที่จะทำให้ออกกำลังกายได้นาน ได้ประโยชน์จากการออกกำลังกายอย่างเต็มที่
   2.4 ช่วยปลูกฝังให้มีทัศนคติที่ดีต่อการออกกำลังกาย
3.ประโยชน์ทางสังคม
   3.1 มีสังคมกับผู้อื่น
   3.2 มีรูปร่างที่ดี และทำให้กล้าแสดงออกและเชื่อมั่นในการเข้าสังคม
อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการเต้นแอโรบิกดานซ์
1.ชุดกายบริหาร
      ไม่ว่าจะเป็นเสื้อหรือกางเกงจะต้องเป็นผ้ายืดเพื่อสะดวกในขณะที่เคลื่อนไหว คล่องตัว ไม่ควรใช้เสื้อผ้าที่ใหญ่หรือหนา เทอะทะ ควรจะเป็นผ้าฝ้ายเพื่อจะช่วยซับเหงื่อ และมีการระเหยของเหงื่อได้ดีกว่าผ้าใยสังเคราะห์ ชุดกายบริหารที่เป็นกางเกงติดกับเสื้อ(Lotards) จะช่วยให้ผู้สวมใส่มีความคล่องตัวในการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายขณะบริหาร เสื้อจะไม่ลื่นหลุดขึ้นมาเหนือเอว
2.เสื้อชั้นใน
      ให้รัดพอดีรอบๆทรง ส่วนที่เป็น cup ถ้าเป็นชนิดที่ไม่มีตะเข็บ ที่ผลิตออกมาโดยปั้มออกจากพิมพ์ไม่ควรใส่ เพราะยกทรงแบบเต็มตัว เมื่ออกกำลังกายแล้ว จะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณหลังและใต้อกเคลื่อนไหวได้ยาก
3.กางเกงใน
      ไม่ควรใส่แบบที่รัดมาก ที่เรียกว่า สเตย์ เพราะเวลาออกกำลังกาย กล้ามเนื้อส่วนนั้น เคลื่อนไหวได้ยาก ทำให้โลหิตบริเวณนั้นไหลเวียนไม่สะดวก เกิดผลเสียแก่อวัยวะสืบพันธุ์ในอุ้งเชิงกรานด้วย ควรเลือกใช้กางเกงในที่มีความกระชับพอดี ถ้าเป็นผ้าที่ผสมฝ้ายมากยิ่งดี
4.ถุงเท้า
      หาที่มีส่วนผสมของฝ้ายให้มาก ซึ่งจะช่วยซับเหงื่อ เพิ่มความนุ่มให้แก่เท้าในทางที่มีการลงน้ำหนักตัวและไม่ลื่นไถลเหมือนถุงเท้าที่มีส่วนผสมของใยสังเคราะห์
5.รองเท้า
      เป็นรองเท้าที่เหมาะกับเท้าตัวเองไม่ใหญ่และเล็กเกินไป ต้องเป็นรองเท้าผ้าใบมีน้ำหนักเบา มีความยืดหยุ่น สามารถรับแรงกระแทกได้ดี การใช้รองเท้าที่ไม่เหมาะสมกับการออกกำลังกายนั้นอาจมีผลกระทบต่อข้อสะโพก ข้อเข่า ข้อเท้า และเท้าได้ ซึ่งในสถาบันเวชศาสตร์การกีฬาในต่างประเทศพบว่ารองเท้าเป็นสาเหตุของการอักเสบข้างต้นถึง 80 -90 %
6.ดนตรี
      ดนตรีที่ใช้ในการประกอบกิจกรรมนั้นจะเลือกใช้เเผ่นเสียง ซีดี ตลับเทป หรือวิทยุเทปก็ได้ ตามอัตภาพ
ขั้นตอนของการออกกำลังแบบแอโรบิกดานซ์
1.ขั้นอบอุ่นร่างกาย หรือ วอมอัพ (Warming Up)
      เป็นการเตรียมความพร้อมของกล้ามเนื้อ หัวใจ ข้อต่อ และอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวให้พร้อมที่จะทำงาน ช่วงนี้จะใช้เวลาบริหารประมาณ 15-25%ของเวลาฝึกทั้งหมด ท่าที่ใช้ฝึกในขณะนี้จะเป็นการฝึกเพื่อความอ่อนตัว โดยการพับตัวไปด้านหน้า ด้านหลังและด้านข้าง อาจจะทำการยืด เอน ข้อต่อร่างกาย(Stretching Exercise) ซึ่งจะช่วยป้องกัน และลดการบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย อย่ายืดกล้ามเนื้ออย่างรุนเเรง หรือทำด้วยจังหวะที่รวดเร็วจนกลายเป็นการกระตุก ซึ่งจะก่อให้เกิดการบาดเจ็บได้
2.ขั้นปฏิบัติงาน หรือ ระยะแอโรบิก (Training Heart Rate)
      ระยะแอโรบิก ในช่วงแรกเป็นการบริหารท่าเร็ว และหนักติดต่อกันส่วนมากจะเน้นการบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้อง สะโพก ลำตัวด้านข้าง แขน หัวไหล่ ซึ่งจังหวะดนตรีในช่วงนี้จะอยู่ระหว่าง 140-160 จังหวะต่อนาที จะเน้นให้บุคคลแต่ละคนสามารถพัฒนาการออกกำลังกายให้ถึงอัตราการเต้นหัวใจที่เป้าหมายได้ ช่วงหลังจะเป็นการเบาเครื่องลงเรื่อยๆ เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เวลาที่ใช้ในช่วงนี้ จะแบ่งออกเป็น แบบ คือ
2.1 แบบ Aerobic Dance Routine เป็นการสร้างแบบแล้วเต้นตามรูปแบบและเวลาที่กำหนดจะใช้เวลาประมาณ 15-30 นาที
2.2 แบบ Group Aerobic Dance เป็นแบบมีผู้นำ ผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรม จะต้องทำตามผู้นำ จะใช้เวลาประมาณ 30-45 นาที
3.ขั้นคลูดาวน์ (Cool Down)
      ส่วนมากนิยมทำ  Floor Exercise โดยการเคลื่อนไหวช้าๆด้วยการเดิน และจบลงด้วยการทำ Stretching Exercise ยืดกล้ามเนื้อน่อง และอาจทำการยืดกล้ามเนื้อมัดใหญ่ทั่วร่างกายเพื่อให้กล้ามเนื้อเกิดการคลายตัวอีกครั้งหนึ่ง ประโยชน์อีกอย่างหนึ่ง คือ การนำเอาของเสีย หรือ กรดแลกติก ที่เกิดขึ้นในขณะที่ออกกำลังกายอยู่นั้นออกไปจากกล้ามเนื้อได้ดีกว่าการหยุดเฉยๆ ในช่วงนี้จะใช้เวลาออกกำลังกาย  5-10 นาที

วีดีโอความรู้เกี่ยวกับแอโรบิกดานซ์


Scrip บทสัมภาษณ์ เรื่อง แอโรบิกดานซ์


น.ส.ปิติพร : สวัสดีค่ะ ดิฉัน นางสาว ปิติพร อุบล จากคณะนิเทศศาสตร์ สาขาการ ประชาสัมพันธ์ วันนี้ดิฉัน จะพาเพื่อนๆ มารู้จักกับเคล็ดไม่ลับ ในการออกกำลังกายค่ะ   ก็คือ แอโรบิกดานซ์นะคะ ก่อนอื่นต้องขอแนะนำก่อนค่ะ อาจารย์ อนุชาติ จังพาณิช     คือผู้ที่จะมาให้คำแนะนำกับเราในวันนี้ค่ะ สวัสดีค่ะ
อ.อนุชาติ   : สวัสดีครับ
น.ส.ปิติพร : อาจารย์คะ หนูอยากจะทราบว่า เคล็ดไม่ลับในการออกกำลังกายโดยวิธีการของแอโรบิกดานซ์ คือทำอย่างไรได้บ้างคะ
อ.อนุชาติ  : เคล็ดไม่ลับต้อง เอ่อ ในการออกกำลังกายทุกประเภท ทุกกิจกรรม จะต้องประกอบด้วยความมุ่งมั่น คนที่จะออกต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน เป้าหมายนั้นคือ เรื่องของความรัก รักอะไร รักในการออกกำลังกาย รักในการรักษาหุ่น รักในการที่จะอยู่ในชีวิตประจำวันอย่างเป็นสุข และรักในสิ่งที่ตอนที่สูงวัย และไม่ต้องเป็นภาระของใคร เราจึงต้องมาออกกำลังกาย การออกกำลังกายมีหลายรูปแบบ มีหลายลักษณะ จากที่เราจะมารู้มาทราบกันในวันนี้ เป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิก ในการออกแบบแอโรบิก นั้นก็คือ การออกกำลังกายที่มีการเคลื่อนไหวเคลื่อนไหว และมีระยะเวลาเป็นตัวกำหนด และมีความหนักของงาน เช่น อัตราการเต้นของชีพจร หรือความถี่ในการออก หรือระยะเวลาของการออกกำลังกาย ในการออกกำลังกายพวกนี้จะทำให้มีความสุข ก็ต้องมีเสียงเพลง นะเสียงเพลง หรือดนตรี หรือลิมิกในจังหวะในการที่จะมาปลุกเร้า มาเสริมในการออกกำลังกายอย่างมีความสุข นั้นก็จึงเป็นที่มาของแอโรบิก
น.ส.ปิติพร : แล้วเราจะต้องเตรียมความพร้อมอย่างไรบ้าง ในการที่จะมาออกกำลังกายโดยวิธีการของแอโรบิกดานซ์
อ.อนุชาติ   : ก่อนอื่นเราจะต้องมารู้ว่า จุดประสงค์ที่เราต้องการออกกำลังกายนั้นคืออะไร เมื่อเรารู้จุดประสงค์แล้ว เราก็มาจัดลักษณะ ลักษณะทางกายภาพ คือ ในเรื่องของชุด เครื่องแต่งกาย นะ ชุดเครื่องแต่งกาย ถ้าออกให้ถูกต้องมันก็ต้องเป็นชุดใน การที่เคลื่อนไหวอยู่ในลักษณะกระชับ ไม่ซับเหงื่อในการออกกำลังกาย เพราะแอโรบิกนี้จะมีเหงื่อ หรือถ้าเราไม่ต้องการ เราใช้ในประชาชนทั่วไป เราก็จะอยู่ในสภาพที่มีอยู่ใน การออกกำลังกายให้มีความสุขอย่าต้องไปเตรียมอะไรมากมาย เตรียมกายและใจเท่านั้น
น.ส.ปิติพร : ค่ะ สำหรับวันนี้นะคะ เราก็ได้มาทราบเคล็ดไม่ลับของการออกกำลังกายแบบแอโรบิกดานซ์กันแล้วนะคะ สำหรับวันนี้ดิฉันของลาไปก่อนค่ะ ลาไปพร้อมกับ อาจารย์ อนุชาติ จังพาณิช สวัสดีค่ะ

อ.อนุชาติ   : สวัสดีครับ

เว็บข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

เว็บไซต์ 

ผู้เขียน
      - กาญจนศรี สิงห์ภู่  งานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลศรีนครินทร์

ที่อยู่ของเว็บไซต์
      - โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
 .........................................................................................................................................................

เว็บไซต์
http://aerobicdanceproject.wordpress.com/ 

ผู้เขียน
      นางสาวแสงอรุณ       ผิวนวล          รหัสนิสิต 50102810
      นายอำนาจ               ชมเพ็ง           รหัสนิสิต 50103626
      นายศรายุธ              รื่นระเริงศักดิ์   รหัสนิสิต 50100946

                  นิสิตคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา ชั้นปีที่ 4

 

ที่อยู่ของเว็บไซต์

      - มหาวิทยาลัยบูรพา

 .........................................................................................................................................................

เว็บไซต์

 http://www.youtube.com/watch?v=2vNOktfXTB0

 

ผู้เขียน

-      saggalins

 

ที่อยู่ของเว็บไซต์

-      Youtube